waribashi
วาริบะชิ ตะเกียบใช้แล้วทิ้งที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
เริ่มใช้ตามร้านปลาไหลย่างมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ช่วงปีค.ศ. 1800 กว่าๆ โน้น (ก็ราวสองร้อยปีมาแล้ว)
โดยในสมัยแรกเริ่มนั้นทำจากไม้ไผ่
และมาใช้กันแพร่หลายในสมัยเมจิ พอเข้ายุคไทโช ตะเกียบใช้แล้วทิ้งนี้ก็มีถึงประมาณ 80 ชนิดเชียว
แบ่งรูปแบบตามการใช้งาน ขนาด วัสดุให้เหมาะกับอาหารแต่ละประเภท
เช่น อาหารที่มีน้ำมันมาก อย่างร้านเทมปุระและปลาไหลย่าง มักใช้ตะเกียบที่ทำจากไม้ไผ่
เนื่องจากไม่อมน้ำมันเท่าไม้ชนิดอื่นๆ
และยังแบ่งตามระดับไฮโซโลโซตามเกรดของร้านอาหาร
อย่างแบบในภาพ เรียกว่า เทนโซะเกะ
สังเกตุด้านบนที่ตัดเฉลียง เหลาเรียวเฉพาะปลาย มักใช้ในร้านอาหารระดับหรู
วาริบะชิกับที่วางตะเกียบ
ตามร้านอาหารญี่ปุ่นที่ใช้ตะเกียบใช้แล้วทิ้ง แล้วไม่มีที่วางตะเกียบไว้ให้
ทำให้ขัดเขิน ไม่รู้ว่าจะวางตะเกียบไว้ไหน
จะให้ถือไว้ตลอด ชี้นกชมไม้ คุยโน้นนี้ จิ้มหน้าคู่สนทนาก็แสนเสียมารยาท
ครั้นจะวางบนชามข้าวก็ไม่งาม
วิธีง่ายๆ เพื่อมารยาทอันดี คือใช้ซองตะเกียบพับเป็นที่วาง แทนที่จะขยำเสียเปล่า
วิธีพับนั้นมีหลากหลาย ที่ง่ายที่สุดแบบหนึ่ง
คือถ้าเป็นซองตะเกียบแบบยาวก็พับครึ่งก่อนแล้วพับครึ่งทบอีกครั้ง
(ถ้าเป็นซองสั้นอาจแบ่งเป็น 3 ส่วนเท่าๆกันแล้วพับเข้าหากัน)
ได้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ พับครึ่งตามยาวอีกทีเป็นยอดเขา
แล้วพับกดที่ตรงรอยพับครึ่งของปลายทั้งสองข้างเป็นมุมตบเข้าไป
กลายเป็นภูเขาน้อยๆ ให้ตะเกียบได้พักพิง
เป็นการใช้เวลาว่างให้เพลิดเพลินลืมเสียงท้องร้องระหว่างคอยอาหาร
อ่า ขอบคุณค่ะ
ReplyDeleteขอจำวิธีก่อน
เผื่อมีโอกาสได้ลอง
ว่าแต่ตะเกียบในภาพประกอบดูงามจังค่ะ
ไม่เหมือนตะเกียบที่ได้จากในร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยที่ฉันเคยไปทานเลย
แอบเก็บมาจากหนึ่งในร้านโปรดที่โตเกียวค่ะ
ReplyDeleteขอบคุณครับ เพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เอง
ReplyDeleteก่อนนี้ก็เคยเห็นบางคนเขาทำกัน
แต่ก็ไม่ใส่ใจ ถือตะเกียบชมนกไม้อย่างว่า
เว้นก็แต่เลี่ยงปักตะเกียบในชามข้าว
จะปฏิบัติตามนะครับ เก๋ๆ
(หลังจากซู๊ดบะหมี่เสียงดังจนชินแล้ว)
ลองดูนะคะ เพลินดีเวลาพับ
ReplyDeleteเห็นตะเกียบในรูปแล้วกลัวจะหักไม่ตรงกลางจังเลยครับ
ReplyDeleteเยี่ยมไปเลย อย่างนี้ต้องขอไปเผยแพร่แล้ว ขอบคุณมาก ๆ น่ะค่ะ
ReplyDelete