kinokuniya and kinokuniya
คิโนะคุนิยะนี้ = ร้านหนังสือ
คิโนะคุนิยะนี้ ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.1927
คิโนะคุนิยะนี้ มีแฟลกชิปสโตร์อยู่ที่ชินจุกุ
คิโนะคุนิยะนี้ มีสีน้ำเงินเป็นสีประจำกาย
คิโนะคุนิยะนี้ ไปบุกเบิกเปิดสาขาต่างประเทศแห่งแรกที่ซานฟรานซิสโกเมือปีค.ศ.1969
คิโนะคุนิยะนี้ = ซุปเปอร์มาร์เก็ตหรู
คิโนะคุนิยะนี้ ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.1910
คิโนะคุนิยะนี้ มีแฟลกชิปสโตร์อยู่ที่อาโอะยามะ
คิโนะคุนิยะนี้ มีสีเขียวเป็นสีประจำกาย
คิโนะคุนิยะนี้ ให้กำเนิดซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรกในญี่ปุ่นเมือปีค.ศ.1953
ต่างฝ่ายต่างชื่อ kinokuniya เช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอ้นใดกันเลย
ถึงจะออกเสียงเหมือนกัน แต่ก็ใช้อักษรคันจิต่างกัน
ที่ตัว"คุนิ"ของฝั่งร้านหนังสือใช้ตัวคันจิแบบเก่า 國
ส่วนตัว"โนะ"ของฝ่ายซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้นใช้ตัวย่อ ノ
แต่ที่เหมือนกัน คือ ต่างก็มีชื่อเสียงเอกอุเฉพาะด้านที่ตนถนัด
ถ้าเป็นเรื่องของหนังสือ kinokuniya ก็ถือเป็นร้านเก่าแก่ชื่อดังมีสาขามากมายทั้งในและต่างประเทศ
แต่ถ้าเป็นเรื่องของอาหาร kinokuniya ก็เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตหรูชั้นแนวหน้า
เป็นที่นิยมทั้งในหมู่มาดามญี่ปุ่นและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น
ร้านหนังสือ kinokuniya เราคงคุ้นหูคุ้นตารู้จักกันพอควร
ส่วน kinokuniya ซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้น มีชื่อเสียงโดดเด่นโด่งดัง เป็นผู้นำในหลายๆเรื่อง
นอกจากจะนำเสนอรูปแบบซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นเจ้าแรกในญี่ปุ่นกับระบบบริการตนเอง self service
ให้ลูกค้าเลือกหยิบสินค้าใส่รถเข็น(ซึ่งมีไม่กี่คันในประเทศขณะนั้น)ด้วยตนเอง
ไปชำระเงินที่เครื่องแคชเชียร์ ซึ่งร้านทั่วไปในตอนนั้น ยังใช้ระบบจ่ายและทอนเงินผ่านตะกร้า
สร้างความแปลกใหม่อย่างมากในยุคนั้น
แถมยังเก๋เท่ด้วยการใส่สินค้าด้วยถุงกระดาษคราฟท์สีน้ำตาลแบบตะวันตก
แล้วยังนำสมัยด้วย in store bakery อบขนมปังร้อนๆภายในร้านมาตั้งแต่ปี 1956
(ปัจจุบันอบขนมปังใหม่ๆร้อนๆกว่า 250 ชนิดทุกวัน
เรียกว่ามีขนมปังแทบจะทุกชนิด ของทุกชาติเลยทีเดียว เล่นเอายืนงงเลือกไมถูกเชียว)
ในปีค.ศ.1963 ได้ริเริ่มเป็นผู้นำเสนอวัฒนธรรมอาหารแนวตะวันตกที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันนักในสมัยนั้น
ด้วยจัดโปรโมชั่น/แฟร์อาหารชาติต่างๆ เป็นที่ชื่นชอบอย่างมากของลูกค้า
พอปีถัดมาก็เป็นเจ้าแรกที่นำเข้าชีส บินตรงจากฝรั่งเศส ในปีค.ศ. 1964
สร้างความนิยมในการบริโภคชีสกันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา
ครั้นปีค.ศ.1995 ก็นำเสนอ my bag campaign รณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
จุดกระแสความนิยมกระเป๋าผ้า kinokuniya (*รูปบน) ไปทั่ว
จากเดิมที่เป็นของสมนาคุณด้วยการสะสมแสตมป์
แต่ด้วยเสียงเรียกร้องมากมายจนภายหลังต้องผลิตออกจำหน่ายเป็น long seller ถึงปัจจุบัน
เหมือนที่ชื่อและมีชื่อเช่นเดียวกัน แต่ต่างกิจการและเจ้าของ
มีโอกาสได้ใช้บริการแต่ร้าน Kinokuniya BookStore (^_^")
ReplyDeleteเสียดายว่าไม่มีข้อมูลภาษาไทยในเวปเลยทั้งที่มีสาขายในไทยอยู่หลายสาขาแล้ว (>_
เคยเห็นถุงผ้าใบบน แต่ไม่เคยเห็นเจ้าของถุง ให้เข้าใจว่าเป็นร้านหนังสือ ดีนะไม่ 'เปิ่น' โชว์ :)
ReplyDeleteอยากรู้ว่าจริงมั้ย ที่มีคนว่าผักกาดสดที่คิโนะคุนิยะอร่อยเหนือใคร :)
ReplyDeleteเอ...ไม่เคยทานผักกาดสดของที่นี่เหมือนกันคะ
ReplyDeleteเคยซื้อแต่ขนมปังกับขนมอย่างอื่น
(สมัยเรียนก็มิบังอาจ ทำตัวเป็นมาดาม มาซื้อผักสดที่คิโนะคุยะได้ :) )
สวัสดีค่ะหมู ขอหัวเราะหน่อย ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ พึ่งรู้ว่าเราเป็นเพื่อนกันมาตั้ง 20 กว่าปีแล้ว เห้นรูปหมูในพลอยแกมเพชรเมื่อวานนี้เอง เราก็ว่าแล้วว่าเราคุ้นหูกับชื่อ นามสกุลหมูมากๆ ยิ่งพอพูดว่า หมู(อัญชลี) มันคุ้นจริงๆ สวัสดีจ้ะ ดีใจที่ได้รู้ว่าคนที่เขียนหนังสือที่เราชื่นชอบมากๆเป็นเพื่อนเราที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ แหะๆ คห.นี้ส่วนตัวไปหน่อยนะ เลยไม่เกี่ยวกะบล็อกเลย
ReplyDeleteถ้านึกไม่ออกว่าเพื่อนที่ไหน ให้นึกถึง ม้า บุ๋ม พระศรี ลูกแก้ว ยุ่น ไก่ นัท พอนึกออกยัง อิอิ
ReplyDelete555 จุดไต้ตำตอจริงๆ :)
ReplyDeleteอัพ อัพ อัพ รออ่านเรื่องใหม่อยู่น๊า
ReplyDeleteที่ผ่านมาเราก็นึกว่าเค้าเป็นบ.เดียวกันมาตลอด ยังนึกเลยว่าแหมใหญ่ดีจังทำทั้งร้านหนังสือและซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่ชอบถุงผ้าเค้าจังเลย
ใช้บริการแต่ร้านหนังสือค่า
ReplyDeleteเคยเห็นถุงของ Kinokuniya (ซุปเปอร์มาร์เก็ต) แต่หลงนึกว่าเป็นถุงของร้านหนังสือ และเป็น font แบบเก่าของร้าน (คิดไปได้)
ReplyDeleteได้มาอ่าน blog นี้ก็ช่วยไขข้อข้องใจได้เลยค่ะ
พ้องเสียงแต่ไม่พ้องรูป(ในภาษาญี่ปุ่น)
ReplyDeleteคงคล้ายๆคนอื่นตรงที่ได้ใช้บริการแ่ต่ร้านหนังสือ เนื่องจากมีในไทยนั่นเอง ไปๆมาๆก็ต้องบอกว่าติดใจร้านคิโนะในไทย เข้าไปทีไร ใจจะละลายด้วยหนังสือมากมายนี่่แหละค่ะ ^^